รูปแบบการประเมินของ ไทเลอร์ (Tyler)
รูปแบบการประเมินของ ไทเลอร์ (Tyler)

ไทเลอร์ (Tyler, 1943) เป็นผู้นาที่สาคัญในการประเมินโครงการ ได้ให้ความหมายของการประเมินว่า การประเมิน คือ การเปรียบเทียบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ โดยมีความเชื่อว่า จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างชัดเจน รัดกุม และจาเพาเจาะจงแล้ว จะเป็น แนวทางช่วยในการประเมินได้เป็นอย่างดีในภายหลัง เขาได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินโดยเสนอเป็นกรอบความคิด ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1943 โดยเน้นการกาหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้อยู่ในรูปของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมแล้วประเมินความสาเร็จของวัตถุประสงค์เหล่านั้น แนวคิด ลักษณะนี้เรียกว่า แบบจำลองที่ยึดความสาเร็จของจุดมุ่งหมายเป็นหลัก
ไทเลอร์ มีความเห็นว่าจุดมุ่งหมายของการประเมินเพื่อตัดสินว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษา ที่ตั้งไว้ในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมนั้นประสบผลสาเร็จหรือไม่มีส่วนใดบ้างที่ต้องปรับปรุง แก้ไข และถือว่าการประเมินโครงการเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ลำดับขั้นของการประเมิน การเรียนการสอนมีดังนี้ กาหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมด้วยข้อความที่ชัดเจน เฉพาะเจาะจง กำหนดเน้ือหาหรือประสบการณ์ทางการศึกษาที่ต้องการให้บรรลุตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เลือกวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมเมื่อจบบทเรียนจึง ประเมินผลโครงการโดยการทดสอบผลสัมฤทธิ์ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้แนวความคิดของไทเลอร์ มาใช้ในการประเมินโครงการ การประเมินโครงการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ควรดำเนินการดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของโครงการทางการศึกษามักได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนโดยเขียนในรูปของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
2.จัดเนื้อหาในการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์
3. ทำการทดสอบผู้เรียนก่อนทำการเรียนการสอน
4. เลือกวิธีสอนให้เหมาะสม
5. ทำการทดสอบผู้เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนแล้ว
6. ประเมินประสิทธิภาพของโครงการด้วยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ และมีนักเรียนร้อยละเท่าไรที่ผ่านเกณฑ์
7. นำผลของการเปรียบเทียบมาศึกษาจุดบกพร่องในการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ในปี 1986 ไทเลอร์ได้นำเสนอกรอบแนวคิดของการประเมินโครงการใหม่ (New Tyler 1986)โดยแบ่งการประเมินออกเป็น6ส่วนคือ
1. การประเมินวัตถุประสงค์ (Appraising Objectives)
2. การประเมินแผนการเรียนรู้ (Evaluating the learning Plan)
3. การประเมินเพื่อแนะแนวในการพัฒนาโครงการ(EvaluationtoGuildProgramDevelopment)
4. การประเมินเพื่อนำโครงการไปปฏิบัติ (Evaluation Program Implement)
5. การประเมินผลลัพธ์ของโครงการทางการศึกษา(EvaluatingtheOutcomeofanEducational Program)
6. การติดตาม (Follow up) และการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น